SME อยากรวยต้องเริ่มต้นด้วย Facebook Page ตอนที่ 2

จาก SME อยากรวยต้องเริ่มต้นด้วย Facebook Page ตอนที่ 1 ผมได้พูดถึงการสร้างเฟซบุ๊กเพจ แต่สำหรับตอนที่ 2 ผมจะมาพูดถึงการโปรโมทสินค้าในปัจจุบันที่มีหลากหลายช่องทาง แต่ช่องทางไหนที่จะเหมาะสำหรับคุณ ซึ่งผมจะมาบอกเคล็ดลับการโปรโมทสินค้าบนเฟซบุ๊กสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่มีหน้าร้านโดยใช้เฟซบุ๊กเพจในการโปรโมท และขายสินค้า กับ ผู้ประกอบการ SME ที่เน้นการขายสินค้าในร้านโดยใช้เฟซบุ๊กเพจ

ผู้ประกอบการ SME ที่มีหน้าร้าน

สำหรับผู้ประกอบการ SME ที่มีหน้าร้าน แปลว่าคุณจะมีลูกค้าเข้ามาที่ร้านทุกวัน ซึ่งสิ่งที่คุณจะต้องทำเมื่อมีเฟซบุ๊กเพจ คือ การเชิญชวนให้ลูกค้ามาเป็นเพื่อนกับคุณด้วยการกดไลค์ และกดติดตามเฟซบุ๊กเพจพร้อมกับให้ลูกค้า Check In หรือ ถ่ายรูปสินค้ากับหน้าร้านเพื่อโปรโมทร้านผ่านทางเฟซบุ๊กโปรไฟล์ของลูกค้าโดยแลกกับส่วนลด หรือ สินค้าต่าง ๆ ภายในร้าน หลังจากนั้นคุณ หรือ ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลเฟซบุ๊กเพจ ควรตอบกลับลูกค้าทุกวัน โดยเริ่มตั้งแต่การเข้าไปทักทายลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้า หรือ ลูกค้าที่มาแสดงความคิดเห็น ด้วยการขอบคุณ และขอคำแนะนำเกี่ยวกับสินค้า หรือ คำแนะนำการบริการของทางร้าน เพื่อที่คุณจะสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไข เพื่อทำให้ลูกค้าพึ่งพอใจกับสินค้า และการบริการของทางร้านมากยิ่งขึ้น เพียงเท่านี้ก็เพียงพอแล้วในการทำสิ่งที่เรียกว่า “การรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า”

ซึ่งธุรกิจที่จะได้รับประโยชน์จากการ Check In มากที่สุด คือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ เช่น ร้านคาเฟ่ ร้านอาหาร โรงแรม หรือ รีสอร์ท เป็นต้น

ผู้ประกอบการ SME ที่ไม่มีหน้าร้าน

สำหรับผู้ประกอบการ SME ที่ไม่มีหน้าร้าน สามารถใช้เว็บไซต์เพื่อเป็นหน้าร้าน และใช้เฟซบุ๊กเพจในการโปรโมท และขายสินค้า ซึ่งการใช้เว็บไซต์ กับ เฟซบุ๊กเพจ มีทั้งข้อดี และข้อเสียที่แตกต่างกัน แต่ขอกล่าวโดยสรุปว่าหากท่านมีงบประมาณ 50,000-100,000 บาท สำหรับเว็บไซต์ 1 เว็บ และพนักงานประจำ 1 คน เงินเดือนเบื้องต้นประมาณ 10,000-15,000 บาท ก็สามารถทำให้คุณมีหน้าร้านได้แล้ว แต่หากมีคุณเป็นผู้ประกอบการ SME ที่เพิ่งเริ่มต้น และมีทุนทรัพย์ที่จำกัด ขอแนะนำให้ใช้เฟซบุ๊กเพจในการโปรโมท และขายสินค้าอย่างเดียวก่อน ถ้ามีทุนทรัพย์เพิ่มขึ้นค่อยลงทุนเว็บไซต์ ซึ่งสิ่งที่เราจะต้องคำนึงถึงเรื่องแรก คือ ชื่อ เว็บไซต์ และ เฟซบุ๊กเพจควรจะเป็นชื่อเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันมากที่สุด เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารกับลูกค้า เช่น เว็บไซต์ของ liveagent.asia คือ www.liveagent.asia ส่วนเฟซบุ๊กเพจ คือ www.facebook.com/liveagent.asia.th นอกจากนั้นการตั้งชื่อที่ใกล้เคียงกันทำให้ลูกค้าสามารถจดจำได้ และง่ายต่อการค้นหาอีกด้วย

การสร้าง Website เบื้องต้น

สิ่งที่ต้องทำเบื้องต้นในส่วนของเว็บไซต์ คือ การสร้างช่องทางให้ลูกค้าสามารถกดเข้าไปยังหน้าเฟซบุ๊กเพจของคุณบนหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้ลูกค้าสามารถที่จะกดไลค์ และกดติดตามเฟซบุ๊กเพจ นอกจากนั้นควรมีเครื่องมือที่สามารถให้ลูกค้าแชร์เนื้อหาของเว็บไซต์ไปยังหน้าเฟซบุ๊กโปรไฟล์ เพื่อให้คนอื่น ๆ ที่สนใจสามารถกดเข้ามาชมเว็บไซต์ของคุณได้ ซึ่งเครื่องมือพวกนี้เราเรียกว่า Facebook Plug In และเทคนิคที่สำคัญ คือ เนื้อหาที่คุณโพสต์บนหน้าเฟซบุ๊กเพจนั้นจะต้องเป็นข้อความที่ดึงดูดลูกค้า และต้องใส่ลิงค์ของ เว็บไซต์ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถกลับมาอ่านต่อได้ เช่น “วิธีการขายของอย่างไรให้ยอดพุ่ง? หรือ กดรับสิทธิบริการตอบรับแชท liveagent ฟรี ที่ www.liveagent.asia/signup/” ซึ่งจะต้องใช้รูปที่ดึงดูดใจ และสะดุดตา เพราะรูปจะทำให้ผู้อ่านเกิดอาการอยากกดไลค์ และกดแชร์มากยิ่งขึ้น

การสร้างยอดกดไลค์ และกดติดตามใน Facebook Page และ Website

ส่วนประเด็นถัดมาถ้าหากคุณต้องการที่จะมียอดกดไลค์ และกดติดตามเฟซบุ๊กเพจเพิ่มขึ้น คุณจะต้องซื้อโฆษณากับเฟซบุ๊ก หรือที่เรียกว่าการซื้อ Promote Post หรือ Promote Website โดยระบุกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการให้เข้ามาเห็นโพสต์ หรือ เว็บไซต์ของคุณ โดยปกติจะมีต้นทุนประมาณ 500 บาท ต่อคนเห็นโพสต์ 10,000 คน หรือ ตกคนละ 5 สตางค์นั้นเอง แต่คนเห็นโพสต์จะเข้ามา หรือ ไม่เข้ามาก็ได้ ดังนั้นเนื้อหาที่คุณโพสต์จะต้องดึงดูดลูกค้า และต้องมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง เมื่อคุณสามารถดึงดูดลูกค้าจากเฟซบุ๊กเข้ามาที่หน้าเว็บไซต์ได้แล้ว สิ่งที่จะต้องทำถัดไป คือ การทำให้คนเหล่านั้นมากดไลค์ หรือ กดแชร์เนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ของร้านค้า เพื่อทำให้เกิดการบอกต่อบนเฟซบุ๊กโปรไฟล์ของลูกค้า ซึ่งโดยเฉลี่ยคนไทยจะมีเพื่อนบน เฟซบุ๊กโปรไฟล์ประมาณ 200 คน ดังนั้นหากเราดึงลูกค้าเข้าเว็บไซต์ ได้ 10% ของ 10,000 คนที่เห็นโพสต์ หรือก็คือ 1,000 คน และทำให้ 10% นั้นเข้ามากดไลค์ หรือ กดติดตามเฟซบุ๊กเพจ ของคุณ ต่อไปคุณก็จะมีคนเข้าเว็บไม่ต่ำกว่า 10,000 คน ซึ่งเป็นปริมาณที่จะทำให้คุณสามารถมีรายรับมากกว่าพนักงานประจำทั่วไปเสียอีก

มี Facebook Page แต่ไม่มี Website ทำยังไง?

หากคุณมีแค่เฟซบุ๊กเพจ แต่ไม่มีเว็บไซต์ คุณควรศึกษากลุ่มเป้าหมายของคุณให้ดีก่อนที่จะทำการตลาด เช่น คุณทำเฟซบุ๊กเพจ ขายต้นไม้ คุณควรศึกษาว่าลูกค้าคุณเป็นเพศอะไร ช่วงอายุ สถานที่ที่ลูกค้าคุณอยู่ บ้าน หรือ คอนโด ความชื่นชอบของเกี่ยวกับต้นไม้ แล้วคุณจะหาข้อมูลเหล่านั้นมาจากที่ไหน?

โดยวิธีการแรก คือ การพิมพ์คำว่า “ต้นไม้” ตรงช่องค้นหาบนเฟซบุ๊ก หรือ วิธีการที่สองให้คุณเข้าไปที่หน้า Google แล้วพิมพ์คำว่า ต้นไม้ site:.facebook.com เพื่อค้นหาว่ามีเฟซบุ๊กไหนบ้างที่ใช้คำว่าต้นไม้ ซึ่งหากคุณต้องการค้นหาคำอื่น ๆ ที่อยู่บนเฟซบุ๊กก็ใช้คำนั้นแทนคำว่า “ต้นไม้” บน Google

ลูกค้าที่เข้ามากดไลค์ และกดติดตาม Facebook Page แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

ในส่วนของลูกค้าที่สามารถเข้ามากดไลค์ และกดติดตามเฟซบุ๊กเพจจะมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มลูกค้าที่เข้ามาซื้อของกับร้านคุณโดยใช้เฟซบุ๊กโปรไฟล์ ซึ่งคุณควรทำ CRM หรือ การดูแลลูกค้าหลังการขาย โดยให้คำแนะนำกับลูกค้าถึงการเลี้ยงต้นไม้ที่ซื้อไปแล้วว่าจะต้องดูแลแบบไหน อย่างไร รวมทั้งแนะนำต้นไม้ใหม่ ๆ ที่คุณสามารถขายได้ ซึ่งจะทำให้คุณมีรายได้เพิ่มขึ้น และกลุ่มที่สอง คือ กลุ่มที่ไม่ใช้ลูกค้าคุณ แต่ใช้เฟซบุ๊กโปรไฟล์เข้ามากดไลค์ และกดติดตามเฟซบุ๊กเพจ โดยอาจจะเห็นจากการที่ลูกค้าคุณเข้ามาแสดงความคิดเห็น และแชร์ หรือ ลูกค้าคุณแนะนำแบบปากต่อปาก หรืออาจจะมาจากการค้นเจอบนอินเตอร์เน็ต และสื่ออื่น ๆ หรืออาจจะมาจากการที่คุณโปรโมทเฟซบุ๊กเพจ หรือการโปรโมทโพสต์ ซึ่งคนกลุ่มนี้เข้ามาครั้งแรกด้วยแรงจูงใจบางอย่าง เช่น สนใจเรื่องต้นไม้ แต่คุณต้องมีสิ่งดึงดูดให้ลูกค้ากลุ่มนี้กลับเข้ามาอ่าน และแสดงความเห็นต่อสิ่งที่คุณโพสต์ นั่นคือเนื้อหาที่คุณต้องใส่เข้าไปในการโพสต์แต่ละครั้งเพื่อแสดงความเป็นเพื่อนกับผู้อ่าน และผู้อ่านก็จะกลายมาเป็นลูกค้าของคุณในอนาคต

สุดท้ายนี้ผมอยากให้ SME ทุกท่านลองมองสิ่งที่มีอยู่ถ้าคุณมีหน้าร้านควรใช้เฟซบุ๊กเพจในการโปรโมทร้านของคุณ แต่ถ้าคุณไม่มีหน้าร้านควรใช้ Website เป็นเสมือนหน้าร้าน หรือ ถ้าคุณมีทุนทรัพย์ไม่เพียงพอให้เริ่มต้นที่เฟซบุ๊กเพจก่อนที่จะมีหน้าร้าน หรือ Website เพื่อที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จได้ในอนาคต

บทความโดย ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร www.facebook.com/udompk

Fast Mini MBA for New Manager in the Age of VUCA รุ่นที่ 3  (Certificate Program)

หลักสูตรเร่งรัดด้านการบริหารธุรกิจ สำหรับหัวหน้างาน ผู้จัดการ ผู้บริหารมือใหม่ และผู้ประกอบการ ที่จะช่วยให้องค์กรสู้กลับโลกยุค VUCA โดยศูนย์เชี่ยวชาญการตลาดแห่งภูมิภาคเอเชีย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

60 ชม. คุ้มค่า เร่งรัด รวดเร็ว กับ 20 วิชาที่ครอบคลุมด้านการบริหารจัดการ โดย 20 จากนักธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ

อบรมเฉพาะวันเสาร์ 9.00 – 16.00 น. เริ่ม 3 กันยายน – 19 พฤศจิกายน 2565

——————————

สมัครหรือสอบถามรายละเอียดที่

E-mail : [email protected]

Facebook : FastMiniMba

Line : @Fastminimba

หรือโทร. 090-276-9104