กุญแจสู่การปลดล็อคนวัตกรรมในองค์กร
ในโลกยุคใหม่ที่ธุรกิจต่างให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมทั้งภาพพจน์ขององค์กรให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม โดยที่ผู้คนจำนวนมากมักจะมุ่งไปที่การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงแล้วถึงแม้ธุรกิจจะมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมได้เสมอไป นั่นก็เพราะว่า กุญแจสู่การปลดล็อคนวัตกรรมขององค์กร ที่แท้จริง นั่นคือ คน ไม่ใช่เทคโนโลยี
เหตุผลง่ายๆ ที่ทำให้ คน เป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนให้องค์กรนั้นเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ก็เพราะว่า ถ้าคนไม่ใช้เทคโนโลยี ๆ นั้นย่อมไปเกิดประโยชน์ หรือหากใช้ แต่ใช้ไม่เป็น ก็ย่อมไม่เกิดประโยชน์อย่างที่ควรจะเป็น
ตัวอย่างเช่น บริษัทตัดสินใจซื้อ application มาช่วยในการทำงานให้สะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่พนักงานกลับใช้แค่อีเมล์เป็นหลัก โดยแทบจะไม่ได้ใช้ฟังก์ชั่นอื่น ๆ เพิ่มเติมเลย เนื่องจากไม่มีทักษะหรือขาดการเรียนรู้ หรือยังติดอยู่กับการทำงานในรูปแบบเดิม ๆ เป็นต้น ซึ่งในกรณีเช่นนี้การมีเทคโนโลยีก็ไม่ได้ช่วยให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ในทางกลับกัน ถึงแม้ว่าบริษัทจะไม่ได้ซื้อ application แต่พนักงานมีความสนใจในเรื่องเทคโนโลยี ก็สามารถที่จะใช้ฟังก์ชั่นต่าง ๆ เช่น การแชร์ไฟล์ การใช้ปฏิทิน การแชท ผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่เปิดให้บริการฟรี ซึ่งกรณีหลังนี้ย่อมทำให้เกิดผลดีมากกว่าการที่บริษัทลงทุนซื้อ application มาใช้อย่างแน่นอน ดังนั้นหากธุรกิจต้องการที่จะสร้างให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมแล้ว การพัฒนา “คน” ให้มีความรู้ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของเทคโนโลยี นวัตกรรม และมีทักษะ พร้อมที่จะใช้เทคโนโลยีนั้นๆ ให้เกิดประโยชน์จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่งกว่า แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพัฒนา “คน” แล้ว ก็ต้องเปิดโอกาสให้เขาเหล่านั้นได้ใช้ทักษะที่เรียนรู้มาไปใช้ในการทำจริงอีกด้วย
ทั้งนี้ในการพัฒนาและส่งเสริม เปิดโอกาสให้บุคลากรได้เรียนรู้ คลุกคลี ฝึกฝนเพื่อปลดล็อคองค์กรให้เป็นองค์กรนวัตกรรมนั้น มีแนวทาง ดังนี้
1. การสนับสนุนให้มีการนำความรู้หรือทักษะที่ได้เรียนรู้มาทดลองใช้ในการทำงานจริง โดยอาจจะค่อย ๆ เริ่มทดลองใช้ในบางส่วนที่เหมาะสมกับธุรกิจก่อน แล้วค่อยพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
2.การสนับสนุนให้เกิดการนำเสนอความคิดหรือไอเดียใหม่ ๆ ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสินค้าหรือบริการ การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน เป็นต้น ซึ่งหากความคิดไหนน่าสนใจ ก็ควรจะสนับสนุนให้มีการทดลองใช้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
3.การปรับเปลี่ยนวิธีการวัดผลความสำเร็จในรูปแบบใหม่ที่มีความเหมาะสม เนื่องจากการใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ มักมีความไม่แน่นอน ต้องใช้เวลาในการทดลองและพัฒนา ดังนั้นหากธุรกิจยังคงใช้วิธีการวัดผลแบบเดิม ๆ อาจทำให้ไม่สามารถผลักดันให้เกิดนวัตกรรมได้จริง
ตัวอย่างการวัดผลที่เหมาะสำหรับการพัฒนานวัตกรรมส่วนใหญ่เป็นการวัดผลแบบธุรกิจ Startup ที่เน้นการพัฒนานวัตกรรม เช่น การวัดผลโดยใช้ OKR ที่มุ่งไปที่ผลสำเร็จปลายทาง หรือการประเมินการเรียนรู้ที่ได้จากการทดสอบ (Validated Learning) ถึงแม้ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลวก็ตาม
4.การเปลี่ยนบทบาทจากการสั่งการมาเป็นการ Coach เพื่อให้ทีมงานได้แสดงศักยภาพของตนเอง กล้านำเสนอความคิดใหม่ ๆ และมีโอกาสในการตัดสินใจ ซึ่งจะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมในที่สุด
จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นว่า “คน” ที่จะช่วยปลดล็อคนวัตกรรมในองค์กรได้นั้น นอกจากจะหมายถึง “พนักงาน” ซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อนองค์กรแล้ว ยังหมายรวมถึง “ผู้บริหาร” ที่เป็นจุดเริ่มต้นที่แท้จริงในการผลักดันให้องค์กรก้าวสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม เพื่อเท่าทันและสามารถแข่งขันในยุค VUCA World ได้นั่นเอง
Fast Mini MBA for New Manager in the Age of VUCA รุ่นที่ 3 (Certificate Program)
หลักสูตรเร่งรัดด้านการบริหารธุรกิจ สำหรับหัวหน้างาน ผู้จัดการ ผู้บริหารมือใหม่ ที่ต้องการก้าวสู่การเป็น Key Person ในองค์กร โดยศูนย์เชี่ยวชาญการตลาดแห่งภูมิภาคเอเชีย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
60 ชม. คุ้มค่า เร่งรัด รวดเร็ว กับ 20 วิชาที่ครอบคลุบด้านการบริหารจัดการ โดย 20 จากนักธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ
อบรมเฉพาะวันเสาร์ เริ่ม 3 กันยายน – 19 พฤศจิกายน 2565
——————————
สมัครหรือสอบถามรายละเอียดที่
E-mail: [email protected]
Facebook: Fast Mini MBA
Line: @fastminimba
หรือโทร. 090-276-9104